2554-07-13

 ให้เงินกู้อเนกประสงค์สำหรับผู้รับบำนาญ

เนื้อหา
              ธนาคารกรุงไทยให้บริการเงินกู้อเนกประสงค์สำหรับผู้รับบำนาญ ให้วงเงินกู้สูงสุด 100% คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาให้กู้นานถึง 30 ปี อนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าชำระเฉพาะดอกเบี้ย รวมทั้งรับสิทธิ์ลุ้นเบนซ์สปอร์ต ลุ้นทองคำนางจิรารักษ์ กุลสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อบุคคลและธุรกิจให้เช่าซื้อ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารได้เข้าร่วมโครงการเงินกู้อเนกประสงค์สำหรับผู้รับบำนาญ โดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน เพื่อขยายโอกาสให้ผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ในการลงทุน ประกอบอาชีพ ขยายกิจการ ตลอดจนการดำรงชีพ และลดการพึ่งพาเงินทุนนอกระบบนั้น
ขณะนี้ธนาคารมีความพร้อมในการให้บริการ โดยให้วงเงินกู้สูงสุดถึง 100% ของวงเงินที่ระบุไว้ในต้นฉบับหนังสือรับรองสิทธิ ไม่จำกัดอายุผู้กู้ คิดอัตราดอกเบี้ย MLR-0.375% ต่อปี หรือปัจจุบันเท่ากับอัตรา 6.50% ต่อปี ระยะเวลาให้กู้นานถึง 30 ปี สามารถกู้ได้แม้ไม่ได้รับบำนาญผ่านธนาคาร โดยนำหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดที่ออกโดยกรมบัญชีกลางมาใช้เป็นหลักประกันในการกู้นางจิรารักษ์ กุลสิงห์ กล่าวต่อไปว่า ธนาคารยังให้เงื่อนไขพิเศษแก่ลูกค้าที่ยื่นกู้ผ่านธนาคาร โดยสามารถเลือกชำระเฉพาะดอกเบี้ย นอกเหนือจากการชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการทางการเงินให้กับลูกค้า โดยธนาคารจะอนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมให้สิทธิพิเศษ ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าเมื่อสมัครทำบัตร KTB Shop Smart Blue Dimond หรือ บัตร KTB Shop Smart Pearl ซึ่งคุ้มครองการเสียชีวิตและทุพพลภาพ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายได้ในระหว่างการรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ และหากสมัครภายในเดือนสิงหาคมนี้ จะได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัลในโครงการ KTB Thank You Festival ลุ้นเบนซ์สปอร์ต ลุ้นทองคำ รวม 56 รางวัล มูลค่ากว่า 5.7 ล้านบาทอีกด้วย โดยสามารถยื่นกู้ได้ที่สาขากว่า 980 แห่งทั่วประเทศ
                                                                                                                                  
                                                                                                                                      อ้างอิงมาจาก
http://www.ktb.co.th
11 กรกฎาคม 2554




วิเคราะห์ข่าว
         ธนาคารกรุงไทยให้บริการเงินกู้อเนกประสงค์สำหรับผู้รับบำนาญ ให้วงเงินกู้สูงสุด 100% โดยคิดอัตราดอกเบี้ย MLR-0.375% ต่อปี หรือปัจจุบันเท่ากับอัตรา 6.50% ต่อปี ระยะเวลาให้กู้นานถึง 30 ปี นอกจากนี้ธนาคารยังมีเงื่อนไขพิเศษแก่ลูค้าที่ยื่นผ่านธนาคาร โดยสามารถโดยสามารถเลือกชำระเฉพาะดอกเบี้ยโดยธนาคารจะอนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมให้สิทธิพิเศษต่างๆ ฟรี

2554-07-11

การกำหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี




เนื้อหา
           นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (ผอ. สบน.) แถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ร่วมกับธนาคารตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อทั้ง 4 แห่ง (1. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง ประเทศไทย 2. ธนาคารกรุงไทย 3. ธนาคารกสิกรไทย และ   4. ธนาคารไทยพาณิชย์) ได้มีการสำรวจตลาด (Book build) เพื่อสำรวจความต้องการลงทุนที่แท้จริงของนักลงทุนที่มีต่อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อที่ออกครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีผลสรุป ดังนี้                                                                                    
  1. นักลงทุนมีความต้องการลงทุนรวมสูงสุดถึง 65,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.6 เท่าของ วงเงินการออก                    40,000 ล้านบาท (กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบวงเงินการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อไว้ที่                             20,000 ถึง 40,000 ล้านบาท)                        
  2.  จากการทำ Book build ที่เสนออัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่ ร้อยละ 1.00 ถึง 1.25 พบว่าสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon rate) ของพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อได้ที่ร้อยละ 1.20 โดยที่อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว ร้อยละ 1.20 มีนักลงทุนจองซื้อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อรวม 53,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นความต้องการของนักลงทุนต่างชาติ 25,000 ล้านบาท และนักลงทุนในประเทศ 28,000 ล้านบาท (นักลงทุนสถาบัน 24,000 ล้านบาทและนักลงทุนรายย่อย 4,000 ล้านบาท)ในการนี้ สบน. คาดว่าจะมีการจัดสรรแบ่งวงเงินให้นักลงทุนในประเทศได้รับจัดสรร 2 ใน 3 ของวงเงินการออกพันธบัตรทั้งหมด (ประกอบด้วย 1. นักลงทุนสถาบันในประเทศ เช่น บริษัทประกันชีวิต กองทุน และสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งจะเป็น Market Maker หรือผู้สร้างสภาพคล่องให้กับพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อในตลาดรองและ 2. ลูกค้ารายย่อย ซึ่งรวมถึงสถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไร เช่น สหกรณ์ของสถาบันการศึกษาและมูลนิธิต่างๆ)นักลงทุนต่างชาติได้รับจัดสรร 1 ใน 3 ของวงเงินการออกพันธบัตรทั้งหมด (ประกอบด้วยกองทุนระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ โดยล่าสุด มีกองทุนจาก 10 ประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง)ทั้งนี้ ประชาชนจะสามารถเข้าซื้อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อได้ในระหว่างวันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2554 ณ ธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง                                  ประเทศไทย        ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
                                                                                                              อ้างอิงมาจาก
                                                                                             http://www.egov.go.th/th/News/Pages/View.aspx?newsId=2480
                                                                                                             8  กรกฎาคม พ.ศ 2554

dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emoticon      dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emoticon      dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emoticon       dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emoticon      dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emoticon      dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emoticon
วิเคราะห์ข่าว

                      ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (ผอ. สบน.) แถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ร่วมกับธนาคารตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อทั้ง 4 แห่ง (1. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง ประเทศไทย   2. ธนาคารกรุงไทย 3. ธนาคารกสิกรไทย และ 4. ธนาคารไทยพาณิชย์) ได้มีการสำรวจตลาด (Book build) 
เพื่อสำรวจความต้องการลงทุนที่แท้จริงของนักลงทุนที่มีต่อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อที่ออกครั้งแรกของประเทศไทย

กรุงไทยออกบัตร KTB – TU Cash Card


เนื้อหา
ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้นำในการพัฒนาบัตรสถาบันรูปแบบใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรม Contactless Chip Card เป็นธนาคารแรก โดยรวม 3 บัตรในบัตรเดียว ทั้งบัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรกรุงไทยเอทีเอ็ม และบัตรกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ นำร่องให้บริการกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบริการจัดการทางการเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้พัฒนารูปแบบบัตรสถาบันหรือบัตร IPAC
(Institute Pre ATM Card) เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักศึกษาและบุคลากรในสถาบัน นอกเหนือจากเป็นบัตรประจำตัวนักศึกษา บุคลากร และบัตรกรุงไทยเอทีเอ็มแล้ว ยังได้เพิ่มบริการบัตรกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (KTB e-Money) โดยนำนวัตกรรมไร้สัมผัส (Contactless Chip Card ) มาให้บริการเป็นธนาคารแห่งแรก 
ในปีการศึกษา 2554 ธนาคารได้ออกบัตร IPAC ภายใต้ชื่อ KTB – TU Cash Card ให้กับนักศึกษาชั้น ปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าใช้จ่ายและค่าบริการต่างๆ ภายในสถาบัน เช่น ชำระค่าสินค้าที่ร้านสหกรณ์ ค่าสมาชิกห้องสมุด และค่ารักษาพยาบาล ในส่วนของมหาวิทยาลัย สามารถใช้ข้อมูลนักศึกษาหรือบุคลากรในบัตร เพื่อการบริหารจัดการภายใน เช่น การบันทึกข้อมูลการใช้ห้องสมุดและใช้เป็นบัตรรูดเข้า-ออกหอพักในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล กล่าวต่อไปว่า  การใช้บัตรในส่วนของกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายและบริการต่างๆ นั้น นักศึกษาเพียงแตะบัตรที่เครื่อง EDC ณ จุดบริการภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้ง 4 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตรังสิต ท่าพระจันทร์ ลำปาง และพัทยา รวมทั้งสิ้น 30 จุด และสามารถเติมเงินสำรองในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท ได้ที่สาขาของธนาคารภายในมหาวิทยาลัย หรือสาขาใกล้เคียง บริการKTB onlineบริการ KTB Online @ Mobile  รวมทั้งเครื่องกรุงไทยเอทีเอ็มอีกกว่า 7,200 เครื่องทั่วประเทศ  
อนึ่ง ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยมีฐานลูกค้าบัตร IPAC กว่า 100 สถาบัน จำนวนนักศึกษาที่ใช้บริการกว่า 300,000 ราย   โดยธนาคารตั้งเป้าขยายการให้บริการไปยังสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั่วประเทศ
                                                                                                                                                               
                                                                                                               อ้างอิงมาจาก 
                                                                                                                                              กรุงเทพธุรกิจออนไลน์                         
                                                                                                            วันที่ 5 กรกฎาคม 2554

                          dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emotiondookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก emotion


 วิเคราะห์ข่าว
                  ธนาคารกรุงไทยได้พัฒนารูปแบบบัตรสถาบันหรือบัตร IPAC เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักศึกษาและบุคลากรในสถาบัน โดยรวม 3 บัตรในบัตรเดียว ทั้งบัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรกรุงไทยเอทีเอ็ม และบัตรกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ นำร่องให้บริการกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
            นักศึกษาชั้นปีที่1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สามารถใช้บัตร IPAC ชำระค่าใช้จ่ายและค่าบริการต่างๆภายในมหาวิทยาลัยได้ เช่น ชำระค่าสินค้าที่ร้านสหกรณ์ ค่าสมาชิกห้องสมุด และค่ารักษาพยาบาล ในส่วนของมหาวิทยาลัย สามารถใช้ข้อมูลนักศึกษาหรือบุคลากรในบัตร เพื่อการบริหารจัดการภายใน เช่น การบันทึกข้อมูลการใช้ห้องสมุดและใช้เป็นบัตรรูดเข้า-ออกหอพักในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การใช้บัตรในส่วนของกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายและบริการต่างๆ นั้น นักศึกษาเพียงแตะบัตรที่เครื่อง EDC ณ จุดบริการภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้ง 4 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตรังสิต ท่าพระจันทร์ ลำปาง และพัทยา รวมทั้งสิ้น 30 จุด และสามารถเติมเงินสำรองในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท ได้ที่สาขาของธนาคารภายในมหาวิทยาลัย หรือสาขาใกล้เคียง บริการKTB onlineบริการ KTB Online @ Mobile  รวมทั้งเครื่องกรุงไทยเอทีเอ็มอีกกว่า 7,200 เครื่องทั่วประเทศ