2554-09-10

รับชำระค่าภาระและบริการขนส่งทางน้ำผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นธนาคารแรก

เนื้อข่าว
ธนาคารกรุงไทยจับมือการท่าเรือแห่งประเทศไทย อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก โดยเพิ่มช่องทางรับชำระค่าภาระและค่าบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นธนาคารแห่งแรก สามารถใช้บริการได้ไม่มีวันหยุด  เริ่มให้บริการ 1 กันยายนนนี้
นางศรีประภา พริ้งพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่  สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากที่ธนาคารได้พัฒนาช่องทางการให้บริการทางการเงิน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและประชาชน ล่าสุดธนาคารได้ร่วมมือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ขยายช่องทางในการรับชำระค่าภาระและบริการ ในรูปแบบการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ e-Port  ของ กทท. โดยจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 กันยายนนี้
ธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารแห่งแรกที่ให้บริการดังกล่าว ซึ่งเป็นการก้าวสู่โลกธุรกิจขนส่งทางน้ำยุคใหม่ โดยจะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้นำเข้าและส่งออกที่ไม่ต้องไปทำธุรกรรมที่ กทท. สามารถชำระค่าระวางและบริการได้ถึงเวลา 22.00 น. ช่วยให้การชำระเงินตรงตามกำหนดเวลา สามารถเลือกรับผลการชำระค่าสินค้าและบริการหลังการทำรายการได้ทั้งทาง e-mail และ SMS  นอกจากนี้ ระบบยังมีความปลอดภัยในการใช้งานด้วยเทคโนโลยีระดับสากล ที่สำคัญช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย
นางศรีประภา พริ้งพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ธนาคารได้พัฒนาขั้นตอนการใช้บริการให้สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ www.port.co.th เลือกประเภทบริการที่ต้องการชำระ และเลือกชำระผ่านธนาคารกรุงไทย  เมื่อทำรายการเสร็จ ระบบจะออกใบรับเงินชั่วคราว เพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงิน ผู้สนใจสามารถสมัครใช้บริการที่ได้ทุกสาขาของธนาคารทั่วประเทศกว่า 1,000 แห่ง  อย่างไรก็ตาม  ธนาคารยังได้ร่วมกับ กทท.เชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมงานสัมมนา เพื่อแนะนำการใช้เว็บไซต์ระบบการชำระค่าภาระและบริการ พร้อมเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้ทดลองใช้อีกด้วย

อ้างอิงมาจาก
31 สิงหาคม 2554
                     
วิเคราะห์ข่าว
จากที่ธนาคารได้พัฒนาช่องทางการให้บริการทางการเงิน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและประชาชน ล่าสุดธนาคารได้ขยายช่องทางในการรับชำระค่าภาระและบริการ ในรูปแบบการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ E-Port ของ กทท. โดยจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 กันยายนนี้ ธนาคารกรุงไทยจึงเป็นธนาคารแห่งแรกที่ให้บริการดังกล่าว ซึ่งเป็นการก้าวสู่โลกธุรกิจขนส่งทางน้ำยุคใหม่ โดยจะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้นำเข้าและส่งออกที่ไม่ต้องไปทำธุรกรรมที่ กทท. และนอกจากนี้ระบบยังมีความปลอดภัยในการใช้งานด้วยเทคโนโลยีระดับสากล ที่สำคัญช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย ช่วยให้การชำระเงินตรงตามกำหนดเวลา

จำหน่ายพันธบัตรเพื่อรายย่อยพิเศษผ่านเอทีเอ็มกรุงไทย

เนื้อข่าว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย   นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล  ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ  ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ  และ นายอภิศักดิ์  ตันติวรวงศ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมพิธีลงนามจำหน่ายพันธบัตรเพื่อรายย่อยพิเศษ ผ่านเครื่องเอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย   ในงาน ก้าวสู่สังคมแห่งการออม  พันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ @ ATM ซึ่งเป็นก้าวแรกของการพัฒนาพันธบัตรรัฐบาลที่นำไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อชีวิตที่สะดวกสบาย ณ  บริเวณ Banking Hall  ธนาคารกรุงไทย เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2554
กระทรวงการคลังได้พัฒนาพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ เพื่อเป็นแหล่งออมเงินที่มีคุณภาพ พร้อมเพิ่มช่องทางการจำหน่ายพันธบัตรผ่านเครื่องเอทีเอ็มเป็นครั้งแรกในประเทศ เพื่อความสะดวกสบายของประชาชนในการเข้าถึงมากยิ่งขึ้น  โดยธนาคารกรุงไทยเป็นเพียงธนาคารแห่งเดียวที่ได้รับแต่งตั้งให้จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ อายุ  3 ปี วงเงินซื้อ 1,000 - 1,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.75  ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 งวด โดยจำหน่ายผ่านเครื่องเอทีเอ็มกว่า  7,300 เครื่อง รวมทั้งสาขาทั่วประเทศอีกกว่า 1,000 แห่ง ในระหว่างวันที่ 12 – 30 กันยายน นี้
สำหรับลูกค้าธนาคารที่มีบัตรเอทีเอ็ม สามารถลงทะเบียนซื้อพันธบัตรล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม – 9 กันยายน 2554 ที่เคาน์เตอร์ทุกสาขาทั่วประเทศ  ส่วนประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถลงทะเบียนซื้อพันธบัตรและเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร  ซึ่งจะได้รับบัญชีบัตร ATM และสมุดพันธบัตร  (Bond Book)  โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

อ้างอิงมาจาก
29 สิงหาคม 2554
                     
วิเคราะห์ข่าว
กระทรวงการคลังได้พัฒนาพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ เพื่อเป็นแหล่งออมเงินที่มีคุณภาพ พร้อมเพิ่มช่องทางการจำหน่ายพันธบัตรผ่านเครื่องเอทีเอ็มเป็นครั้งแรกในประเทศ เพื่อความสะดวกสบายของประชาชนในการเข้าถึงมากยิ่งขึ้น  โดยธนาคารกรุงไทยเป็นเพียงธนาคารแห่งเดียวที่ได้รับแต่งตั้งให้จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ อายุ  3 ปี วงเงินซื้อ 1,000 - 1,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.75  ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 งวด โดยจำหน่ายผ่านเครื่องเอทีเอ็มกว่า  7,300 เครื่อง รวมทั้งสาขาทั่วประเทศอีกกว่า 1,000 แห่ง ในระหว่างวันที่ 12 – 30 กันยายน นี้

ขยายเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมเติมเงินบัตรทางด่วน

เนื้อข่าว
ธนาคารกรุงไทย ขยายเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมเติมเงินบัตร Easy Pass ผ่านเอทีเอ็มและอินเทอร์เน็ต   ไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ เตรียมขยายช่องทางให้บริการผ่านเคาน์เตอร์สาขาและช่องทางอื่นๆ นางศรีประภา พริ้งพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่  สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย  เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารได้ร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้บริการเติมเงินบัตร Easy Pass ผ่านเอทีเอ็มและอินเทอร์เน็ตเป็นธนาคารแรก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยธนาคารได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเติมเงินในอัตรา 5 บาท ต่อรายการ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น เพื่อเป็นการสมนาคุณและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงได้ขยายระยะเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมการเติมเงินต่อไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ โดยผู้ใช้บัตร Easy Pass สามารถเติมเงินสำรองในบัตรตั้งแต่ 500-5,000 บาท ผ่านเครื่องเอทีเอ็มกรุงไทยที่มีกว่า 8,100 เครื่องทั่วประเทศ รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บริการ KTB online และบริการ KTB Online @Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังคงได้รับสิทธิพิเศษมูลค่าเพิ่ม 25 บาท เมื่อเติมเงินทุก 500 บาท เช่นเดียวกับการเติมเงินที่หน้าด่านทางด่วน
นางศรีประภา พริ้งพงษ์ กล่าวในตอนท้ายว่า  ธนาคารเตรียมขยายช่องทางให้บริการเติมเงินผ่านเคาน์เตอร์สาขา  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ตามวิสัยทัศน์ The Convenience Bank หรือธนาคารแสนสะดวก
อ้างอิงมาจาก
25 สิงหาคม 2554
                            
วิเคราะห์ข่าว
จากการที่ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้บริการเติมเงินบัตร Easy Pass ผ่านเอทีเอ็มและอินเทอร์เน็ตเป็นธนาคารแรก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยธนาคารได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเติมเงินในอัตรา 5 บาท ต่อรายการ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการสมนาคุณและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงได้ขยายระยะเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมการเติมเงินต่อไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ และธนาคารยังเตรียมขยายช่องทางให้บริการเติมเงินผ่านเคาน์เตอร์สาขา  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ตามวิสัยทัศน์ ธนาคารแสนสะดวก

ร่วมงานมหกรรมการเงินโคราช ครั้งที่ 5

เนื้อข่าว
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการเงินโคราช ครั้งที่ 5 (Money Expo Korat 2011)  พร้อมเยี่ยมชมบูธของธนาคารกรุงไทย โดยมีนายพีระวัฒน์ ดวงแก้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย นางอุมาพร มังคลัษเฐียร ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายบริหารการขายผ่านช่องทางพิเศษ นายประเสริฐ อังสุพันธุ์โกศล ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารสำนักงานเขตนครราชสีมา และพนักงาน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ธนาคารได้ออกแบบบูธภายใต้แนวคิด ธนาคารในสวน หรือ KTB Convenience Park เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างครบวงจร ตอกย้ำการเป็นธนาคารแสนสะดวก  ณ ห้อง MCC Hall ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ โคราช ระหว่างวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2554
อ้างอิงมาจาก
25 สิงหาคม 2554

ลงนามความร่วมมือกับธนาคารแห่งสปป.ลาว

เนื้อข่าว
ดร. พงศธร สิริโยธิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานปฏิบัติการ ธนาคารกรุงไทย และท่านสีวิไล พมมะจัก หัวหน้ากรมบริการ ธนาคารแห่งสปป.ลาว ร่วมลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริการทางการเงินและการธนาคาร โดยมีท่านสมพาว ไพสิด ผู้ว่าการธนาคารแห่งสปป.ลาว ท่านปานอม ลาทุลี รองหัวหน้ากรมพัวพันสากล ท่านอ็อด คนเชียงดี รองหัวหน้ากรมบริการ นายวินิจ แสงอรุณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ นายสุรัตน์ นาวีระ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายธุรกิจปริวรรต และนายจตุรงค์ บุนนาค ผู้จัดการสาขานครหลวงเวียงจันทน์ เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ธนาคารแห่งสปป.ลาว        การลงนามในครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการค้า การลงทุน อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างกัน ซึ่งธนาคารจะเป็นผู้ให้บริการเปิดบัญชีทั้งเงินบาทและสกุลอื่นๆ แก่ธนาคารแห่งสปป.ลาว ส่วนธนาคารแห่งสปป.ลาวจะให้บริการจำหน่ายธนบัตรสกุลต่างประเทศและให้บริการขนส่งเงินสกุลบาทหรืออื่นๆกับธนาคาร นอกจากนี้ยังจะร่วมมือกันในด้านทรัพยากรบุคคลและธุรกรรมด้านอื่นๆ
อ้างอิงมาจาก
16 สิงหาคม 2554

วิเคราะห์ข่าว
การลงนามระหว่างธนาคารกรุงไทยกับธนาคารแห่งสปป.ลาว เป็นการส่งเสริมการค้า การลงทุน อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างกัน ซึ่งธนาคารจะเป็นผู้ให้บริการเปิดบัญชีทั้งเงินบาทและสกุลอื่นๆ แก่ธนาคารแห่งสปป.ลาว ส่วนธนาคารแห่งสปป.ลาวจะให้บริการจำหน่ายธนบัตรสกุลต่างประเทศและให้บริการขนส่งเงินสกุลบาทหรืออื่นๆกับธนาคาร นอกจากนี้ยังจะร่วมมือกันในด้านทรัพยากรบุคคลและธุรกรรมด้านอื่นๆ

ร่วมเป็นผู้จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล


เนื้อข่าว
                นางพัชรศิริ เกียรติกำจาย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยง ธนาคารกรุงไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ กับนางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้บริหารระดับสูงของ 10 สถาบันการเงิน เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่1 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย การออกจำหน่ายพันธบัตรในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การบริหารสภาพคล่องในตลาดเงินอยู่ในลำดับที่เหมาะสม พร้อมกับช่วยให้ประชาชนผู้มีเงินออมได้มีทางเลือกในการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และผลตอบแทนดี โดยพันธบัตร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 7 ปี และประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี ซึ่งจะจำหน่ายผ่านทั้ง 11 สถาบันการเงิน ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม ถึง 6 กันยายน 2554
อ้างอิงมาจาก
17 สิงหาคม 2554


วิเคราะห์ข่าว
ธนาคารกรุงไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ กับธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้บริหารระดับสูงของ 10 สถาบันการเงิน เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่1 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย การออกจำหน่ายพันธบัตรในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การบริหารสภาพคล่องในตลาดเงินอยู่ในลำดับที่เหมาะสม พร้อมกับช่วยให้ประชาชนผู้มีเงินออมได้มีทางเลือกในการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และผลตอบแทนดี

เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

เนื้อข่าว
                ธนาคารกรุงไทยออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยครบวงจร ให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องและซ่อมแซมแก่ผู้ประกอบการ และปลอดชำระเงินต้นทั้งสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ประสบภัย นาน 6 เดือน พร้อมให้กู้เพิ่ม รวมทั้งให้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ กู้ได้นาน 60 เดือน
นายเวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากที่ได้เกิดเหตุอุทกภัยและภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ธนาคารมีความเป็นห่วงลูกค้าและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ได้ให้หน่วยงานอำนวยสินเชื่อของธนาคารที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ออกเยี่ยมเยียนพร้อมทั้งสำรวจความเสียหายของลูกค้าอย่างใกล้ชิด ตลอดจนให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นและความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วในหลายพื้นที่ เช่นที่จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครสวรรค์
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยนั้น ธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ เพื่อใช้ฟื้นฟูและซ่อมแซมอาคาร โรงงาน สถานประกอบการที่ได้รับความเสียหาย การให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการกู้เพิ่ม ธนาคารให้ปลอดชำระเงินต้นนาน 6 เดือน ในส่วนของลูกค้ารายย่อย ธนาคารมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยกรุงไทยสู้อุทกภัย โดยผ่อนปรนให้ปลอดชำระเงินต้นนาน 6 เดือนเช่นเดียวกัน รวมทั้งให้กู้เพิ่มเติมตามจำนวนเงินที่ได้ผ่อนชำระกับธนาคารมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อเพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กู้ได้สูงสุด 60 เดือน อัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรกคงที่ 4% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราเงินฝากประจำ 6 เดือนบวก 1.65% ต่อปี โดยปลอดเงินต้นนาน 6 เดือน
นายเวทย์ นุชเจริญ กล่าวต่อไปว่า นอกจากการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแล้ว ธนาคารยังได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งธนาคารได้ทำอย่างต่อเนื่อง มาตรการกรุงไทยจับคู่ธุรกิจ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถปรับปรุงซ่อมแซมกิจการ หรือซ่อมบำรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ในราคาพิเศษ  ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยสำหรับลูกค้าและชุมชน
อ้างอิงมาจาก
16 สิงหาคม 2554

วิเคราะห์ข่าว
ธนาคารกรุงไทยออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากเหตุอุทกภัยและภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ธนาคารมีความเป็นห่วงลูกค้าและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ เช่นที่จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยนั้น ธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ เพื่อใช้ฟื้นฟูและซ่อมแซมอาคาร โรงงาน สถานประกอบการที่ได้รับความเสียหาย การให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการกู้เพิ่ม ธนาคารให้ปลอดชำระเงินต้นนาน 6 เดือน ในส่วนของลูกค้ารายย่อย ธนาคารมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยกรุงไทยสู้อุทกภัย โดยผ่อนปรนให้ปลอดชำระเงินต้นนาน 6 เดือนเช่นเดียวกัน รวมทั้งให้กู้เพิ่มเติมตามจำนวนเงินที่ได้ผ่อนชำระกับธนาคารมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อเพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กู้ได้สูงสุด 60 เดือน อัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรกคงที่ 4% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราเงินฝากประจำ 6 เดือนบวก 1.65% ต่อปี โดยปลอดเงินต้นนาน 6 เดือน นอกจากการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแล้ว ธนาคารยังได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

จัดงาน ชิมอาหาร พบการลงทุน เต็มอิ่มกับหนังสมเด็จพระนเรศวร

เนื้อข่าว
                นางนงนุช เทียนไพฑูรย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส นายประสิทธิ์ อำภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ นายสุวัฒน์ เนตรสวัสดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย ธนาคารกรุงไทย ร่วมเปิดงาน ชิมอาหาร พบการลงทุน เต็มอิ่มกับหนังสมเด็จพระนเรศวร ภาค 4 ตอนศึกนันทบุเรง ซึ่งธนาคารและบริษัทในเครือได้จัดขึ้น เพื่อขอบคุณลูกค้า ในโอกาสนี้ นายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ เคที ซิมิโก้ ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ สร้างจังหวะทำกำไร ในโค้งสุดท้ายครึ่งปีหลัง ณ บริเวณชั้น ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2554
อ้างอิงมาจาก
15 สิงหาคม 2554

จัดงาน KTB Supply Chain Solutions ลูกค้าชวนคู่ค้าไปดูหนัง

เนื้อข่าว
นายเวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดกลาง ดร.เยาวลักษณ์ พูลทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานยุทธศาสตร์ธนาคาร และนายอุดมศักดิ์ โรจน์วิบูลย์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย ร่วมเปิดงาน KTB Supply Chain Solutions @ PARAGON ภายใต้ แนวคิด ลูกค้าชวนคู่ค้าไปดูหนังเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ KTB Supply Chain Solutions และได้เชิญลูกค้าพร้อมคู่ค้าเข้าชมภาพยนตร์ เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ตอนศึกนันทบุเรง ในรอบปฐมทัศน์ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี และเพิ่มโอกาสในการขยายเครือข่ายธุรกิจในอนาคต ณ พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2554
                                                                                                                                                อ้างอิงมาจาก
15 สิงหาคม 2554